FAQs

ความรู้เกี่ยวกับ อลูมิเนียมต่างๆ

  • อลูมิเนียมเป็นวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ใช้ทดแทนไม้ เหล็ก และ พลาสติก ได้เป็นอย่างดี
  • อลูมิเนียมมีคุณสมบัติที่ ไม่ทำให้เกิดสนิม ทนฝน ทนแดด  ระบายความร้อนได้ดี สังเกตได้จากการใชวัสดุอลูมิเนียมกับชิ้นงานที่ต้องทนความร้อน
  • มีสีให้เลือกมากมายเหมาะแก่งานออกแบบ ให้ลงตัวกับงานของคุณได้ง่ายดาย
  • การรีดขึ้นรูปร่าง เป็นหน้าตัดต่างๆได้หลากหลาย ทำให้การนำมาประยุกต์ใช้งาน
  • ได้อย่างไร้ขีดจำกัดสามารถออกแบบหน้าตัดที่เหมาะสมกับการกันน้ำ ได้ดีกว่าวงกบ และ บานหน้าต่างที่เป็นไม้ หรือเหล็ก
  • โครงสร้างมีความแข็งแรงในตัวของมันเอง จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริม โครงเหล็กไว้ภายในเหมือน UPVC ทำให้มีน้ำหนักเบา
  • ทนความร้อนได้ดี คงรูปไม่เกิดการบิดงอ (ซึ่งการบิดงอมักเกิดกับงาน UPVC และ งานไม้)  อลูมิเนียมจึงเหมาะกับสภาวะอากาศของไทย ซึ่งมีอากาศร้อน แดดจัด ได้อย่างไร้ปัญหา
อลูมิเนียมมีจุดหลอมละลายที่ 660 องศาเซลเซียส เป็นโลหะที่มีความหนาแน่นน้อย น้ำหนักเบา รับภาระน้ำหนักได้สูง สามารถขึ้นรูปได้ง่าย ไม่เสี่ยงต่อรอยร้าว และการแตกหัก ไม่เป็นสนิม ทนต่อการกัดกร่อน และไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ โดยเฉพาะการนำมาผสมกับโลหะอื่นๆแล้วจะทำให้คุณสมบัติต่างๆเพิ่มมากขึ้น เช่น จุกหลอมเหลวของอลูมิเนียมผสมจะอยู่ที่ 1140-1205องศาเซลเซียส จึงนิยมนำมาผลิตเป็นชิ้นส่วนต่างๆ รวมถึงวัสดุหรือภาชนะที่เกี่ยวข้องกับอาหาร นอกจากนั้น ยังมีคุณสมบัติทางเคมีของอลูมิเนียมในลักษณะต่างๆ ได้แก่ ชนิดของอลูมิเนียมแบ่งตามการผลิต
  1. อลูมิเนียมบริสุทธิ์ เป็นอลูมิเนียมที่ได้จากการถลุงแร่หรือการหลอมให้มีความบริสุทธิ์ 99.00% และมีธาตุอื่นเจือปนเพียง 1% เท่านั้น เป็นอลูมิเนียมที่มีความเหนียวสูง สามมารถขึ้นรูปได้ดี
  2. อลูมิเนียมผสม เป็นอลูมิเนียมที่ได้จากการหลอมร่วมกับโลหะชนิดอื่นตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป ได้แก่ ทองแดง แมกนีเซียม แมงกานีส โครเมียม ซิลิกอน นิเกิล ดีบุก สังกะสี เป็นต้น เพื่อเป็นโลหะผสมให้มีคุณสมบัติทนต่อแรงดึงสูง
 เกรดอลูมิเนียม ประเภท 1xxx เกรดของอลูมิเนียมประเภทนี้มีเหล็ก และซิลิคอนเป็นธาตุหลัก (1050, 1060, 1100, 1145, 1200, 1230, 1350, อื่นๆ) ซึ่งเป็นประเภทที่ต้านทานการกัดกร่อนได้ดี, สภาพการนำความร้อน และนำไฟฟ้าสูง, คุณสมบัติทางกลต่ำ และใช้งานได้ดี สามารถเพิ่มความแข็งระดับปานกลางได้โดยอาจได้รับจากกระบวนการเพิ่มความเครียด เกรดอลูมิเนียม ประเภท 2xxx เกรดของอลูมิเนียมประเภทนี้ (2011, 2014, 2017, 2018, 2124, 2219, 2319, 201.0; 203.0; 206.0; 224.0; 242.0; อื่นๆ) ต้องการกระบวนการอบร้อนเพื่อให้ได้คุณสมบัติสูงสุด ในสภาวะกระบวนการอบร้อนนี้ ค่าคุณสมบัติทางกลจะคล้ายกัน หรือบางทีอาจสูงกว่าในบรรดาเหล็กคาร์บอนต่ำ และในบางชนิดการทำกระบวนการอบร้อนซ้ำ จะทำให้สามารถเพิ่มคุณสมบัติทางกลได้ การอบร้อนนี้จะเพิ่มค่าจุดคราก แต่จะทำให้เสียสภาพการยืดตัว ซึ่งจะทำให้ค่าต้านทานแรงดึงไม่ดี อลูมิเนียมอัลลอยด์ประเภท 2xxx ไม่ ใช่ตัวต้านทานการกัดกร่อนที่ดีเหมือนกับอลูมิเนียมอัลลอยด์ประเภทอื่น และภายใต้สภาวะการดัดกร่อนแบบบางๆอาจะจะทำให้เกิดการกัดกร่อนตามขอบเกรนได้ เกรดอลูมิเนียมประเภท 2xxx จะมีประโยชน์ต่อส่วนที่ต้องการความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูงสุด 150°C (300°F) แต่ ยกเว้นเกรด 2219 อลูมิเนียมอัลลอยด์เกรดนี้มีขีดจำกัดในการเชื่อม แต่อัลลอยด์บางชนิดในประเภทนี้จะมีรูปแบบการแปรรูปที่ดีเยี่ยม ส่วนอลูมิเนียมเกรด 2021 เป็นเกรดที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการใช้ผลิตอากาศยาน เกรดอลูมิเนียม ประเภท 3xxx เกรดของอลูมิเนียมประเภทนี้ (3003, 3004, 3105, 383.0; 385.0; A360; 390.0) โดยปกติแล้วจะไม่สามารถใช้การอบร้อนได้ แต่มีค่าความแข็งแกร่งมากกว่าประเภท 1xxx อยู่ 20% เพราะว่าข้อจำกัดของปริมาณแม็กนีเซียม (สูงสุดที่ 1.5%) ที่สามารถเพิ่มเข้าไปในอลูมิเนียมได้ ซึ่งแม็กนีเซียมจะถูกใช้เป็นธาตุหลักในอัลลอยด์บางชนิดเท่านั้น เกรดอลูมิเนียม ประเภท 4xxx เกรดของอลูมิเนียมประเภทนี้ (4032, 4043, 4145, 4643, อื่นๆ) มีซิลิคอนเป็นธาตุหลัก ซึ่งสามารถเพิ่มได้ในปริมาณที่เพียงพอ (สูงสุด 12%) ที่จะทำให้เกิดการลดช่วงการหลอมเหลว ด้วยเหตุนี้ อลูมิเนียม-ซิลิคอนอัลลอยด์จึงถูกใช้ทำเป็นลวดเชื่อม และใช้ในการเชื่อมประสานอลูมิเนียม ในช่วงการหลอมเหลวต่ำ แทนการใช้โลหะ อลูมิเนียมอัลลอยด์ที่บรรจุซิลิคอนมากพอจะทำให้เห็นเป็นสีเทาดำเหมือนถ่าน เมื่อเสร็จสิ้นการอโนดิกออกไซด์ (anodic oxide) จะถูกนำไปใช้ และด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่ต้องการสำหรับการใช้งานด้านสถาปัตยกรรม เกรดอลูมิเนียม ประเภท 5xxx ธาตุ หลักของอัลลอยด์ประเภทนี้คือ แม็กนีเซียม เมื่อถูกใช้เป็นธาตุหลัก หรือใช้ร่วมกับแมงกานีส จะทำให้มีค่าความแข็งแกร่งปานกลาง และสามารถทำการชุบแข็งได้ แม็กนีเซียมจะส่งผลมากกว่าแมงกานีสในเรื่องของความแข็ง (แมกนีเซียม 0.8% เท่ากับ แมงกานีส 1.25%) และยังสามารถเพิ่มได้ในปริมาณมากอีกด้วย อลูมิเนียมอัลลอยด์ในประเภทนี้ (5005, 5052, 5083,5086, อื่นๆ) ใช้ในงานเชื่อมได้ดี และต้านทานการกัดกร่อนจากน้ำได้ดี แต่อย่างไรก็ตามการผลิตจะจำกัดอยู่ที่การขึ้นรูปเย็น และใช้อุณหภูมิในการดำเนินงานที่ 150°F สำหรับแมกนีเซียมอลูมิเนียมอัลลอยด์ เพื่อหลีกเลี่ยงความอ่อนแอที่เกิดจากการแตกร้าวเนื่องจากการกัดกร่อนภายใต้แรงเค้น (stress-corrosion cracking) เกรดอลูมิเนียม ประเภท 6xxx อลูมิเนียมอัลลอยด์ในประเภท 6xxx คือ (6061, 6063) ประกอบไปด้วยซิลิคอน และแม็กนีเซียม ในปริมาณที่มากพอในการขึ้นรูป magnesium silicide (Mg2Si) ซึ่งทำให้สามารถทำกระบวนการอบร้อนได้ แต่ก็มีความแข็งไม่เท่ากับประเภท 2xxx และ 7xxx โดยประเภท 6xxx นี้จะสามารถทำการขึ้นรูปได้ดี, เชื่อมง่าย, แปรรูปง่าย และต้านทานการกัดกร่อนได้ดี ด้วยความแข็งแกร่งปานกลาง เกรดอลูมิเนียมในประเภทที่สามารถทำการ heat-treatable ได้นี้อาจจะขึ้นรูปในแบบ T4 temper (แก้ปัญหาการอบร้อนได้ แต่ไม่สามารถเร่งการอบร้อนได้) และเพิ่มความแข็งหลังจากการขึ้นรูปแบบคุณสมบัติ T6 โดยการเร่งการอบร้อน เกรดอลูมิเนียม ประเภท 7xxx สังกะสีประมาณ 1 ถึง 8% เป็นธาตุหลักในประเภท 7xxx อลูมิเนียมอัลลอยด์ (7075, 7050, 7049, 710.0, 711.0, อื่นๆ) และเมื่อทำการรวมกับแม็กนีเซียมในปริมาณเล็กน้อย ผลที่ได้คือจะมีค่าความแข็งแกร่งตั้งแต่ระดับปานกลางจนถึงสูงมาก ส่วนธาตุอื่นๆเช่น ทองแดง และโครเมียม ก็ถูกเพิ่มเข้าไปในปริมาณเล็กน้อยเหมือนกัน อัลลอยด์ประเภท 7xxx ถูกใช้ทำเป็นโครงสร้างลำตัวของอุปกรณ์มือถือ และชิ้นส่วนที่มีความเค้นสูง อลูมิเนียมอัลลอยด์ความแข็งแกร่งสูง 7xxx จะแสดงการลดความต้านทานต่อการแตกร้าวเนื่องจากการกัดกร่อนภายใต้แรงเค้น (stress-corrosion cracking) และถูกใช้ใน temper ที่มีอายุเกินมาเล็กน้อย เพื่อให้ได้การรวมกันของความแข็งแกร่ง, ความต้านทานการกัดกร่อน และค่าความต้านทานการแตกหัก เกรดอลูมิเนียม ประเภท 8xxx ประเภท 8xxx (8006; 8111; 8079; 850.0; 851.0; 852.0) สงวนไว้สำหรับการผสมกับธาตุอื่นๆ นอกเหนือจากที่ใช้สำหรับประเภท 2xxx ถึง 7xxx เหล็ก และนิกเกิลถูกใช้เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง โดยไม่มีการสูญเสียสภาพการนำไฟฟ้า และถูกใช้อย่างแพร่หลายเช่นอัลลอยด์ตัวนำ 8017 อลูมินัม-ลิเทียม อัลลอยด์ 8090 มีความแข็งแรง และความแข็งสูงเป็นพิเศษ เพราะถูกพัฒนาให้ใช้กับงานอากาศยาน และอลูมิเนียมอัลลอยด์ในประเภท 8000 สอดคล้องกับของระบบ Unified Numbering A98XXX ด้วย กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานทุกขั้นตอนทำให้เราได้รับความไว้วางใจจากกลุ่ม ลูกค้าต่างๆ มากกว่า 30 ปี ซึ่งกระบวนการผลิตตั้งแต่ การรีดอลูมิเนียม (Aluminium Extrusion), การชุบอโนไดซ์ (Anodizing), การพ่นสี (Powder Coating) เราสามารถตอบสนองได้ด้วยผลงานเป็นที่ยอมรับของลูกค้า "เราเป็นมืออาชีพ....ที่สามารถรองรับงานอลูมิเนียมรูปหน้าตัดที่มีความหลาก หลายรูปทรงด้วยประสบการณ์ความเข้าใจและเทคนิคการผลิตตรงตามการใช้งาน"
อลูมิเนียมต้องยอมรับว่าเป็นวัสดุที่มีความสำคัญมากในวงการอุตสาหกรรมและในชีวิตประจำวันของเรา ด้วยคุณสมบัติของอลูมิเนียมที่มีน้ำหนักเบา ทนทานและสามารถรีไซเคิลได้ ซึ่งสิ่งของเครื่องใช้ส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นหรือใช้กันอยู่ก็มักจะเป็นอลูมิเนียมตัวอย่างเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ยานยนต์ บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม แล้วในวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องน่ารู้ของอลูมิเนียมในอุตสาหกรรมและทำความรู้จักอลูมิเนียมให้มากขึ้นผ่านบทความนี้กัน

5 เรื่องน่ารู้ของอลูมิเนียมวัสดุสำคัญในอุตสาหกรรม

1. ความเป็นมาของอลูมิเนียม อลูมิเนียมเป็นแร่ที่มีมากเป็นอันดับ 3 ในเปลือกโลก แต่การแยกอลูมิเนียมออกจากแร่เป็นสิ่งที่ยากมาก จนกระทั่งมีนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส อองรี แซงต์ แคลร์ เดอวีล (Henri Étienne Sainte-Claire Deville) ได้ประสบความสำเร็จกับการสกัดอลูมิเนียมในเชิงพาณิชย์ปี ค.ศ.1854 แต่เนื่องจากต้นทุนของกระบวนการที่ใช้สกัดอลูมิเนียมมีราคาสูงมาก ทำให้อลูมิเนียมเป็นโลหะที่มีราคาแพงกว่าทองคำในสมัยนั้นอีก ต่อมามีนักวิทยาศาสตร์สองคน ชาร์ลส์ มาร์ติน ฮอลล์ (Charles Martin Hall) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน และ ปอล ลุยส์ ตูส์แซนต์ แอรูลต์ (Paul Louis Toussaint Hèroult) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส คิดค้นกระบวนการแยกอลูมิเนียมด้วย "กระบวนการของฮอลล์-แอรูลต์" (Hall-Héroult process) ( https://hmong.in.th/wiki/Hall%E2%80%93H%C3%A9roult_process  ) การแยกอลูมิเนียมด้วยไฟฟ้า ทำให้อลูมิเนียมมีราคาถูกลงและถูกนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ มากขึ้น
2. อลูมิเนียมมีน้ำหนักเบา
อลูมิเนียมมีน้ำหนักเบาแต่รับน้ำหนักได้มากมีความหนาแน่นเท่ากับ 1 ใน 3 ของเหล็กกล้าและทองแดง มีโครงสร้างอะตอมที่เล็กเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุอื่น ๆ ทำให้อลูมิเนียมมีน้ำหนักเบากว่าหินหรือเหล็ก อลูมิเนียมอ่อนสามารถดัด สามารถกลึงและหล่อแบบได้หลากหลาย เช่น รีด กลึง หล่อ ทำให้ง่ายต่อการผลิตชิ้นส่วนที่มีรูปทรงซับซ้อน จึงมักถูกใช้ในการสร้างโครงสร้างอุตสาหกรรมที่ต้องการน้ำหนักเบา
3. อลูมิเนียมมีความทนทาน
เมื่ออลูมิเนียมสัมผัสกับอากาศจะเกิดชั้นออกไซด์บาง ๆ บนผิวโลหะ ชั้นนี้ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกัน อลูมิเนียมทำให้ทนต่อการแตกหักและการกัดกร่อน มีความสามารถในการสะท้อนแสง มีค่าการนำความร้อนสูงและนำไฟฟ้าได้ดี มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น ร้อน เย็น ความชื้น แสงแดดและสารเคมี จึงเหมาะสมสำหรับการใช้งานในสถานที่ที่มีเงื่อนไขสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ที่สำคัญไม่เป็นสนิมและไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ทำให้อลูมิเนียมเป็นวัสดุที่มีความหลากหลายในการใช้งาน
4. อลูมิเนียมสามารถรีไซเคิลได้
อลูมิเนียมสามารถนำมารีไซเคิลได้เพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยลดปริมาณขยะลดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยการหมุนเวียนอลูมิเนียมจากกระบวนการผลิตและโลหะที่ผ่านการใช้งานในอุตสาหกรรมนำกลับมาใช้ใหม่ กระบวนการรีไซเคิลอลูมิเนียม (ที่มา : https://wanttoknowit.com/how-is-aluminum-recycled/ )
  • เริ่มต้นจากการคัดแยกอลูมิเนียม โดยสามารถแยกได้หลายวิธี เช่น แยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ แยกด้วยแม่เหล็ก หรือแยกด้วยสายพานลำเลียง
  • อลูมิเนียมที่คัดแยกแล้วจะถูกบดอัดให้เป็นก้อนขนาดเล็ก
  • อลูมิเนียมบดอัดจะถูกนำไปหลอมละลายที่อุณหภูมิประมาณ 750 ± 1000 องศาเซลเซียล เพื่อกำจัดสารเคลือบผิวและสีหมึกออกจากผิวอะลูมิเนียม
  • กำจัดสิ่งปนเปื้อนในระหว่างการหลอม
  • อลูมิเนียมหลอมละลายจะถูกเทลงในแม่พิมพ์เพื่อขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น กระป๋อง แท่ง หรือท่อ กรณีต้องการอลูมิเนียมเป็นแผ่น ให้นำแท่งอะลูมิเนียมเข้าเครื่องรีด เพื่อรีดให้เป็นแผ่น ก่อนส่งจัดจำหน่ายให้กับผู้ใช้ที่ต้องการผลิตภัณฑ์จากอลูมิเนียม
5. อลูมิเนียมในอุตสาหกรรม  อลูมิเนียมถูกใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ดังนี้
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ อลูมิเนียมใช้ในชิ้นส่วนรถยนต์ต่างๆ ตัวอย่างเช่น ฝาสูบ บล็อกเครื่องยนต์ ล้อ และโครงรถ เนื่องจากน้ำหนักเบาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงและช่วยลดมลพิษ
  • อุตสาหกรรมการก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร เสา คาน พื้น หลังคา งานตกแต่ง ผนัง ฝ้า เพดาน ประตู หน้าต่าง ราวบันได ต้านทานการเป็นสนิมและต้านทานการกัดกร่อนในชั้นบรรยากาศได้ดี
  • อุตสาหกรรมการบิน อลูมิเนียมใช้ในโครงสร้างเครื่องบิน ชิ้นส่วนเครื่องยนต์และผิวหนัง เนื่องจากมีความแข็งแรง ทนทาน และน้ำหนักเบา จรวด ดาวเทียม รวมไปถึงยานอวกาศอื่นๆ ก็มีอลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบเช่นกัน
  • อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อลูมิเนียมใช้ในกระป๋องเครื่องดื่ม ซองอลูมิเนียมฟอยล์ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและทนต่อการกัดกร่อนได้ดี
  • อุตสาหกรรมไฟฟ้า อลูมิเนียมใช้ในสายไฟฟ้า เคเบิล และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ เนื่องจากเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดี มีน้ำหนักเบา
  • อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อลูมิเนียมใช้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต เป็นโลหะที่นำไฟฟ้าได้ดีและสามารถช่วยป้องกันสัญญาณรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้าได้
  ทั้งหมดนี้คือ 5 เรื่องน่ารู้ของอลูมิเนียมสู่วัสดุสำคัญในวงการอุตสาหกรรม อลูมิเนียมในวงการอุตสาหกรรมยังมีอีกหลายอย่างที่น่าค้นหาและติดตาม เพราะการเติบโตของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน รูปแบบของอลูมิเนียมก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามการใช้งาน ทำให้เป็นวัสดุที่มีความต้องการและสำคัญต่ออุตสาหกรรมมากขึ้น มี บริษัท เค.ซี. (กระทุ่มแบน) อุตสาหกรรม จำกัด (https://www.kc-aluminum.com/โรงงานผลิตอลูมิเนียม/ ) โรงงานผลิตอลูมิเนียมที่ตรงตามความต้องการการใช้งานในอุตสาหกรรมด้วยกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานทุกขั้นตอนทำให้ได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มลูกค้าต่าง ๆ มากกว่า 30 ปี ซึ่งมีกระบวนการผลิตตั้งแต่ การรีดอลูมิเนียม (Aluminum Extrusion) การชุบอโนไดซ์ (Anodizing) การพ่นสี (Powder Coating) สามารถตอบสนองได้ด้วยผลงานเป็นที่ยอมรับของลูกค้า “เราเป็นมืออาชีพ….ที่สามารถรองรับงานอลูมิเนียมรูปหน้าตัดที่มีความหลากหลายรูปทรงด้วยประสบการณ์ความเข้าใจและเทคนิคการผลิตตรงตามการใช้งาน”    
Aluminium Profile คือ อลูมิเนียมขึ้นรูปมีลักษณะเป็นเส้นยาว มีหน้าตัดที่แตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของการใช้งานที่หลายหลาก    Aluminium Profile จะนิยมนำมาใช้งานทำเป็นโครงสร้างประกอบสำเร็จรูป โดยจะมีร่องยาวตามแนวที่ใช้สำหรับประกอบและถูกยึดจุดเชื่อมต่อด้วยT-Nut หรือ สกรู ล็อกตำแหน่งของ Aluminium Profile รวมทั้งยังมีอุปกรณ์เสริมสำเร็จรูปอีกมากมายที่มีให้เลือกใช้งานรวมกันกับ Aluminium Profile